โดยทั่วไปแล้ว การทำงานให้มีประสิทธิภาพและมีความสุขนั้น มักมีหลายปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ความชอบและถนัดในเนื้องาน เพื่อนร่วมงานที่ดี หรือมีหัวหน้างานที่เข้าใจหัวอกพนักงานพร้อมให้คำแนะนำและคำปรึกษาในเรื่องงานอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้ หากพนักงานในองค์กรอยู่ในสภาวะที่กำลังหมดไฟในการทำงาน ผู้บริหารจึงจำเป็นต้องหาวิธีการต่างๆในการรับมือ วันนี้ทางเว็บไซต์ Jobcute ขอนำเสนอ วิธีการจัดการบริหาร Passion ของพนักงานในองค์กรในการเติมไฟครั้งใหม่ให้กับพนักงาน อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะไปดูเคล็ดลับในการบริหาร Passion นั้น เรามารู้จักกับคำว่า Passion กันก่อนค่ะว่าคืออะไร

Passion  คือ ความกระตือรือร้น ความหลงใหล ความคลั่งไคล้ในการทำงาน ซึ่งเป็นไฟที่สามารถขับเคลื่อนให้ผู้สร้างสรรค์งานเดินหน้าต่อไปอย่างเต็มพลัง แน่นอนอยู่แล้วว่า Passion ของแต่ละคนนั้นย่อมมีไม่เท่ากัน และมีโอกาสลดลงจนดับมอดไปหากขาดการเติมไฟอยู่เสมอ หรือที่ได้ยินอย่างคุ้นหูกันว่า “เข้าสู่สภาวะการหมดไฟในการทำงาน” หรือ Burntout Syndrome ซึ่งพนักงานในปัจจุบันหลายคนที่ความอดทนน้อย เปลี่ยนงานบ่อย หมดไฟง่าย ดังนั้น การเติมไฟให้กับพนักงานถือว่าเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนองค์ให้ก้าวไปข้างหน้า ซึ่งผู้บริหารหรือหัวหน้างานจำเป็นต้องบริหาร Passion ของพนักงานอยู่เสมอ จะมีเคล็ดการบริหารอะไรบ้างนั้น เรามาดูกันเลยค่ะ

องค์กรกับการบริหาร Passion ของพนักงาน
  1. เข้าใจชาวมิลเลนเนียน (Millennials)

อันดับแรก ผู้บริหารต้องเข้าใจมนุษย์มิลเลนเนียน ว่าเป็นคนที่รักอิสระ มีความเป็นตัวของตัวเองค่อนข้างสูง และกล้าที่จะออกนอกรอบนอกขนบธรรมเนียมประเพณี ดังนั้น วิธีการบริหารความกระตือรือร้นของคนประเภทนี้คือ ไม่ควรจำกัดรอบหรือระเบียบวินัยในการทำงานมากเกินไป เนื่องจากพวกเขาต้องการความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงาน ซึ่งระบบและวัฒนธรรมการทำงานแบบเดิมๆ จะทำให้คนเหล่านั้นรู้สึกอึดอัดและเบื่อหน่าย ซึ่งผู้บริหารหรือหัวหน้างานจำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์ต่างๆที่ยืดหยุ่นได้ เพื่อให้พื้นที่ในการแสดงผลงานได้อย่างเต็มที่ และเพื่อผลงานที่ออกมาอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

องค์กรกับการบริหาร Passion ของพนักงาน
  1. เคารพชีวิตส่วนตัวและไว้ใจพนักงาน

ผู้บริหารหรือหัวหน้างานต้องไว้ใจพนักงาน เพราะการไว้ใจจะทำให้พนักงานรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรได้ และไม่ควรโทรตามงานนอกเวลา หรือคอยจับผิด ซึ่งจะยิ่งทำให้พนักงานรู้สึกว่าถูกหน้าที่การงานเขามากลืนชีวิตส่วนตัวมากขึ้น

องค์กรกับการบริหาร Passion ของพนักงาน
  1. ซื้อใจพนักงานด้วยการให้รางวัล

เมื่อพนักงานสามารถทำผลงานออกมาได้อย่างดีมีประสิทธิภาพแล้ว องค์กรไม่ควรลืมให้รางวัลแก่พนักงาน ไม่ว่าจะเป็นโบนัส การพาไปท่องเที่ยวต่างสถานที่ หรือไม่ว่าจะเป็นรางวัลในรูปแบบอื่นๆก็ตาม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นกำลังใจให้พนักงานพัฒนาความสามารถของตนเองให้ดีขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ รางวัล ไม่เพียงเป็นแค่กำลังใจเท่านั้น แต่ยังเป็นความยุติธรรม หรือสิทธิที่พนักงานควรได้รับหลังจากที่ทำงานด้วยความอุตสาหะ ซึ่งจะเห็นได้ว่าองค์กรสมัยใหม่จึงมีการแข่งขันในเรื่องของสวัสดิการพนักงาน เพราะหากองค์กรไม่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ ก็เป็นเรื่องยากที่จะดึงดูดคนเก่งเข้ามาทำงานในองค์กรนั้นได้

องค์กรกับการบริหาร Passion ของพนักงาน
  1. รู้ทิศทางและอนาคต

พนักงานสมัยใหม่ชอบทำงานอย่างมีเป้าหมาย โดยที่ไม่โฟกัสว่าแต่ละเดือนจะได้ค่าตอบแทนเท่าไหร่ แต่ยังโฟกัสในเรื่องของการอยู่ในองค์กรแล้วมีทิศทางหรือเป้าหมายที่ชัดเจนหรือไม่ หากองค์กรนั้นเป็นบริษัท Startup ที่เพิ่งเปิดใหม่ที่ยังไม่นิ่งพอ และไม่สามารถให้พนักงานเห็นทิศทางขององค์กรได้ ก็ยากที่จะรักษาพนักงานให้อยู่ได้นานๆ

องค์กรกับการบริหาร Passion ของพนักงาน
  1. สร้างบรรยากาศออฟฟิศให้น่าทำงาน

การสร้างบรรยากาศออฟฟิศให้น่าทำงาน จัดว่าเป็นที่มาของความคิดสร้างสรรค์ อย่างบริษัทยักษ์ใหญ่  Google ที่ใช้งบลงทุนและให้ความสำคัญกับการตกแต่งออฟฟิศและห้องอาหารพนักงาน จนมีภาพ “ออฟฟิศในฝัน” ของ Google ออกมาให้คนทั่วไปได้ชมกัน

การขับเคลื่อนพนักงานในองค์กร ถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก และหนึ่งในการสร้าง Passion ให้กับพนักงานนั้นคือ การสร้างบรรยากาศออฟฟิศให้น่าทำงาน สร้างบรรยากาศในแง่บวก และผ่อนคลาย อาจจะมีพื้นที่ที่สามารถถงเถียงกันเหมือนในร้านกาแฟ หรือ ส่งเสริมให้ได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆไปพร้อมกับมุมคลายเครียดนั่นเอง

ดังนั้น ภาวะหมดไฟในการทำงานสามารถเกิดขึ้นได้ในกับทุกๆองค์กร ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้บริหารที่มีส่วนสำคัญในการช่วยเติมเชื้อพลังไฟให้กับพนักงาน โดยการลองปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรให้ทันตามยุคสมัยเพื่อดึงดูดและรักษาพนักงานดีๆไว้กับองค์กรให้นานๆกันนะคะ

ความคิดเห็นของคุณ

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่