ปัจจุบัน มีผู้เชี่ยวชาญด้านการทำงานและผู้คนที่ทำงานในวงการโฆษณาได้ให้สัมภาษณ์และพูดคุยถึงการทำงานในปี 2020 ว่าจะเป็นไปในทิศทางใด วันนี้เว็บไซต์ JobCute ก็เลยได้นำสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญเหล่านั้นได้คาดการณ์เอาไว้มาฝากให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ ว่าการทำงานในปี 2020 จะเป็นอย่างไร

พยากรณ์การทำงานปี 2020 จะไปในทิศทางไหน
1. งานไม่ใช่ทุกอย่างในชีวิต

เมื่อปัจจุบันชาว Gen Y และ Gen Z เข้าสู่โลกแห่งการทำงานกันมากขึ้น ทำให้พวกเขาเหล่านั้นมีมุมมองและให้คุณค่าในการทำงานที่ต่างกันออกไป โดยชาวกลุ่ม Gen Y และ Gen Z มองว่างานไม่ใช่ทุกอย่างในชีวิต และไม่จำเป็นต้องทุ่มเทไปกับงานมากจนเกินไป เพราะมีงานวิจัยออกมาประกาศว่า การทำงานมากจนเกินไป จะส่งผลต่อปัญหาสุขภาพตามมาทีหลัง ไม่ว่าจะเป็นอาการเหงา ซึมเศร้า และอาการหมดไฟในการทำงาน เป็นต้น

ทางด้านนักจิตวิทยาคลินิก Josh Cohen เจ้าของหนังสือ Not Working : Why we have to stop ได้ระบุในหนังสือเล่มนี้ว่า “ที่ผ่านมาเราอยู่ในยุคของการทำงานหนักมานานมาก จนทำให้คิดว่าเมื่อหยุดทำงานแล้ว จะเป็นอย่างไร” ดังนั้น เทรนด์ของการทำงานในปี 2020 นี้ จำเป็นต้องมีการหยุดพักการทำงานบ้าง หาเวลาพักผ่อน ท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มพลังให้กับร่างกายและจิตใจได้กลับมากระปรี้กระเปร่าอีกรอบ เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนจินตนาการต่าง ๆ ในการทำงาน ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับการทำงานในยุคนี้เลยทีเดียว

พยากรณ์การทำงานปี 2020 จะไปในทิศทางไหน
2. ทำงานหรือหารายได้ในหลายช่องทาง 

ล่าสุดมีงานวิจัยจาก The Open University ได้รายงานว่า ชาว Gen Z มองว่าการทำงานในยุคนี้ ไม่จำเป็นต้องทำงานที่เดียวหรืออย่างเดียว โดยผลสำรวจได้ระบุว่า ชาว Gen Z จำนวน 95% มีความต้องการที่จะมีกิจการหรือธุรกิจของตัวเอง และ 53% พบว่าชาว Gen Z ไม่นิยมทำงานที่เดียวหรือมีรายได้แค่เพียงช่องเดียวเท่านั้น เมื่อเทียบกับคนรุ่น Gen Y แล้ว มีเพียง 47% เท่านั้นที่ต้องการมีกิจการของตัวเอง

ดังนั้น คนกลุ่ม Gen Z มีความต้องการที่จะร่วมงานกับองค์กรที่เปิดโอกาสให้เขาได้แสดงศักยภาพหลายอย่าง และเปิดโอกาสให้ทำงานได้มากกว่า 1 อย่าง เพราะชาว Gen Z ชอบและมีความต้องการที่จะเป็นเจ้าของกิจการอย่างที่ตนได้วาดฝันเอาไว้

พยากรณ์การทำงานปี 2020 จะไปในทิศทางไหน
3. หัวเราะในที่ทำงานได้ ก็ร้องไห้ได้เหมือนกัน

เมื่อใครหลายคนได้อ่านข้อนี้ เชื่อเลยค่ะว่าต้องมีความงงกันบ้างว่า“หัวเราะในที่ทำงานได้ ก็ร้องไห้ได้เหมือนกัน” คืออะไร หัวข้อนี้จะบอกคุณว่าคนรุ่นใหม่มักใช้เวลาและทุ่มเทไปกับงานเป็นอย่างมาก ซึ่งแตกต่างไปจากคนในยุคก่อน ๆ ที่แยกระหว่างการทำงานกับเวลาส่วนตัวได้อย่างชัดเจน ซึ่งคนในยุคนี้จะใช้เวลาในที่ทำงานมากขึ้น สังเกตได้ง่าย ๆ เลยค่ะว่า ในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ จะมี Co-Working Space ที่คอยเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง นั่นหมายความว่า คนในสมัยนี้สามารถทำงานตอนไหนหรือที่ไหนก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องเข้าออฟฟิศ เมื่อใช้เวลาไปกับการทำงานมากเกินไปแล้ว ย่อมส่งผลปัญหาด้านอารมณ์อีกด้วย เหล่าผู้เชี่ยวชาญด้านการทำงานเห็นว่า การร้องไห้ในที่ทำงานไม่ใช่เรื่องที่แปลกและแสดงถึงความอ่อนแออีกต่อไป เพราะเชื่อว่า “ในเมื่อหัวเราะในที่ทำงานได้ ก็ไม่แปลกที่ร้องไห้ในที่ทำงานได้เช่นเดียวกัน”

พยากรณ์การทำงานปี 2020 จะไปในทิศทางไหน
4. แลกเปลี่ยนเรื่องเงินเดือน เป็นเรื่องปกติ

ปัจจุบัน การทำงานในยุค 2020 จะมีการพูดคุยเรื่องเงินเดือนกันมากขึ้น ซึ่งถือว่าไม่ใช่การสอดรู้สอดเห็นนะคะ แต่จะเป็นการตรวจสอบเรื่องเงินเดือนให้กว้างมากยิ่งขึ้น เช่น บางคนทำงานในตำแหน่งเดียวกัน แต่ได้รับเงินเดือนที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งเมื่อมีการแลกเปลี่ยนเรื่องเงินเดือน แล้วพบว่าความไม่ยุติธรรมเกิดขึ้น ก็สามารถไปต่อรองได้ อย่างไรก็ตาม หลายองค์กรที่คิดว่าเรื่องเงินเดือน เป็นเรื่องที่ Sensitive มาก ดังนั้น การแลกเปลี่ยนเรื่องเงินเดือนนั้น จึงเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันค่ะ

พยากรณ์การทำงานปี 2020 จะไปในทิศทางไหน
5. พบแพทย์ปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต

ปัจจุบัน ปัญหาสุขภาพจิตกลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นโรคซึมเศร้าหรืออาการหมดไฟในการทำงานก็ตาม ซึ่งแนวทางแก้ไขในปัญหาด้านนี้คือ การไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตนั่นเองค่ะ ดังนั้น การแก้ปัญหาด้านจิตใจในสถานที่ทำงาน ถือว่าเป็นที่ต้องการมากขึ้น เพื่อให้พนักงานในองค์กรมีการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิด เพื่อเป็นแนวทางแก้ไขนั่นเองค่ะ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับการพยากรณ์การทำงานในปี 2020 โดยเหล่าผู้เชี่ยวชาญด้านการทำงานที่ได้อธิบายการทำงานในยุคนี้ว่าเป็นอย่างไร โดยเฉพาะการทำงานของกลุ่ม Gen Z ที่ให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม คนเหล่านั้นก็ต้องการความยืดหยุ่นจากองค์กรอีกด้วย ยิ่งองค์กรไหนสามารถให้ความยืดหยุ่นได้มากกว่า ก็ยิ่งเป็นจุดสนใจสำหรับชาว Gen Z เลยทีเดียว ดังนั้น สำหรับองค์กรไหนที่ต้องการคนกลุ่มนี้เข้าร่วมทำงานแล้ว องค์กรเหล่านั้นจำเป็นต้องศึกษาความต้องการของคนกลุ่มนี้อีกด้วย เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพและทำงานร่วมกันอย่างมีความสุขค่ะ

 

 

 

 

ความคิดเห็นของคุณ

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่