วันนี้แอดมิน JobCute ก็ได้นำสาระดี ๆ มาให้ได้อ่านกันอีกแล้วนะคะ สำหรับน้อง ๆ หรือเพื่อน ๆ คนไหน ที่มีความสนใจในงานที่เกี่ยวกับ งานสายการบิน ไม่ว่าจะเป็น นักบิน หรือแอร์โฮสเตส เป็นต้น แต่แอดมินคิดว่าต้องมีหลายคนในที่นี้ที่มีความสนใจในตำแหน่งงานเหล่านี้อย่างแน่นอนใช่ไหมละค่ะ

ปัจจุบันโลกของอุตสาหกรรมการบินได้มีการเติบโตไปทั่วโลกอย่างก้าวกระโดด และมีความสวนทางกับเศรษฐกิจด้านอื่น ๆ โดยสิ้นเชิง จึงส่งผลให้ความต้องการบุคลากรในสายงานที่เกี่ยวข้องนั้นก็มีจำนวนที่เพิ่มขึ้นตามไปอีกด้วย และแน่นอนว่างานในอุตสาหกรรมการบินนั้นไม่ได้มีเพียงแค่อาชีพ นักบิน หรือแอร์โฮสเตส เพียงเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงเจ้าหน้าที่ทางเทคนิคและผู้ปฏิบัติงานเฉพาะทางอื่น ๆ อีกมากมายหลากตำแหน่งด้วยกัน

และแล้ววันนี้นั้นแอดมินจะช่วยให้น้อง ๆ ได้เป็นแนวทางในการเตรียมตัววางแผนการเรียน และเป็นแนวทางให้ผู้ที่สนใจงานด้านนี้ที่จะได้เห็นภาพอนาคตของตัวเองเมื่อเรียนจบได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เราจึงได้รวบรวมอาชีพหลัก ๆ  11 อาชีพสำคัญและขาดไม่ได้ ในทุก ๆ สนามบินไม่ว่าจะสนามบินภายในประเทศ หรือต่างประเทศก็ตาม โดยมีการเปิดรับสมัครงานในตำแหน่งเหล่านี้ทั้งในประเทศและต่างประเทศมาให้ทุกคนนำไปเป็นแนวทางในเรียนและทำงานต่อไป มาดูกันเลยนะคะว่ามีอะไรบ้าง

1.เจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศ (Air Traffic Controller) ก็จะทำหน้าที่ดูแล กำหนดทิศทาง ความเร็ว เพดานการบินของเครื่องบิน ที่นักบินแต่ละคนจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

2.นักบินเครื่องบินพาณิชย์ (Airline Pilot) ก็เหมือนกับนักบินทั่ว ๆ ไป เป็นผู้ควบคุมการบินในระหว่างทำการบินรวมถึงการขับเครื่องบินที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร หรืออื่น ๆ นักบินจะมีการใช้กระบวนการคิดและทักษะในการทำงานภายใต้ภาวะการกดดันทั้งเรื่องของเวลา เสียงรวมถึงความปลอดภัยอีกด้วย

เจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศ (Air Traffic Controller)
เจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศ (Air Traffic Controller)

3.พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน (Flight Attendant/Cabin crew/Cabin attendant) ก็คือผู้ที่ทำหน้ารักษาความปลอดภัย และอำนวยความสะดวกสบายแก่ผู้โดยสารบนอากาศยาน มีหน้าที่ คอยดูแลช่วยเหลือผู้โดยสารในกรณีฉุกเฉิน ตรวจเช็คอุปกรณ์ประจำเครื่องตามจุดต่าง ๆ เป็นต้น

4.พนักงานบริการภาคพื้น (Ground Attendant/Ground Services/Airport Station Attendant) จะทำหน้าที่ต้อนรับและดูแลอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารตั้งแต่เข้ามาใช้บริการของสายการบินจนส่งผู้โดยสารขึ้นเครื่องบินให้อยู่ในความดูแลและการบริการของแอร์โฮสเตสต่อไปค่ะ

5.วิศวกรซ่อมบำรุงอากาศยาน (Aircraft Maintenance Engineer) มีหน้าที่ดูแลตรวจเช็ค และซ่อมบำรุงโครงสร้างและลำตัวของเครื่องบิน รวมไปถึงระบบของเครื่องบินและเครื่องยนต์ของอากาศยานประเภทต่าง ๆ

พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน
พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน

6.เจ้าหน้าที่บริการลานจอดและอุปกรณ์ภาคพื้น (Ground Equipment Services) เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลอุปกรณ์ภาคพื้นต่าง ๆ ที่ให้บริการแก่อากาศยานและผู้โดยสาร หรือง่าย ๆ ก็คือ ยานพาหนะที่บริการผู้โดยสารและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อากาศยานจำเป็นต้องใช้ เช่น รถบริการน้ำ รถบริการไฟใช้ในเครื่องบิน รถลากเครื่องบิน เป็นต้น

7.เจ้าหน้าที่ฝ่ายการพาณิชย์สินค้าและไปรษณียภัณฑ์ (Cargo Services) คือการขนส่งสินค้าและพัสดุต่าง ๆ โดยทางอากาศเป็นการขนส่งที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

8.เจ้าหน้าที่ฝ่ายครัวการบิน (Catering) เป็นหน่วยงานที่ดูแลด้านอาหารที่มีไว้ให้บริการแก่ผู้โดยสารบนเครื่องบินและภาคพื้น ด้วยความสะอาดและถูกหลักอนามัย และต้องเป็นไปตามหลักสากล รวมไปถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับด้านบริการด้านอาหารทั้งหมดอีกด้วย

เจ้าหน้าที่จำหน่ายบัตรโดยสารเครื่องบิน (Airline Ticket Agent)
เจ้าหน้าที่จำหน่ายบัตรโดยสารเครื่องบิน (Airline Ticket Agent)

9.เจ้าหน้าที่จำหน่ายบัตรโดยสารเครื่องบิน (Airline Ticket Agent) จะมีหน้าที่ที่จะพบกับผู้โดยสารเมื่อผู้โดยสารมาถึงสนามบิน อาจจะเป็นพนักงานของสายการบิน หรือพนักงานของสนามบินก็ได้ที่มีหน้าที่ Check-in ผู้โดยสาร ให้ที่นั่งบนเครื่องแก่ผู้โดยสาร Check -in กระเป๋าของผู้โดยสาร และทำการขายตั๋วหรือเปลี่ยนแปลงเที่ยวบินให้แก่ผู้โดยสารตามต้องการอีกด้วย

10.เจ้าหน้าที่จองตั๋วเครื่องบิน (Reservation Sales Agent) จะทำหน้าที่เกี่ยวกับการจองที่ให้ผู้โดยสาร ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเดินทางแกผู้โดยสารจะเป็นทางโทรศัพท์หรือไม่ก็ตาม ข้อมูลนั้นรวมถึงการวางแผนการเดินทาง ที่ว่างบนเครื่อง ค่าโดยสาร ตารางการบิน การท่องเที่ยว การเช่ารถยนต์ และข้อมูลอื่น ๆ เกี่ยวกับแผนการบินของผู้โดยสาร

11.เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) เป็นงานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ หรืองานสนับสนุนด้านคอมพิวเตอร์ ให้แก่สายการบิน ซึ่งปัจจุบันเป็นหัวใจของธุรกิจนี้ไปแล้ว ดังนั้น ทุกสายการบินจำเป็นต้องมีหน่วยงานด้านนี้เพื่อให้งานต่าง ๆ ของการบินดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ การแบ่งงานของหน่วยงานด้านนี้ก็จะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความยากง่ายและความสลับซับซ้อนของงาน หรือของบริษัทว่าหน่วยงานต่าง ๆ สัมพันธ์กันมากน้อยเพียงไร

เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)
เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)

เป็นอย่างไรกันบ้างค่ะ สำหรับทั้ง 11 อาชีพที่เรานำมาแนะนำให้ทุก ๆ คนได้รู้จักและนี่ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของงานด้านสายการบินเท่านั้น ซึ่งตำแหน่งหรืองานในอุตสาหกรรมการบินทั้งในประเทศและต่างประเทศ ยังมีงานอื่น ๆ ที่น่าสนใจ รายได้ และมีระดับการทำงานที่แตกต่างกันอีกมากมาย และน้อง ๆ คนไหนหรือใครที่กำลังมองหางานและช่องทางในการเติบโตในอนาคต ก็อย่าลืมที่จะพิจารณางานในสายการบิน ไว้นะคะ เพราะงานสายการบินนั้นมาพร้อมกับเงินเดือนที่ค่อนข้างสูง สวัสดิการในการทำงานก็ดีค่ะ

ความคิดเห็นของคุณ

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่