เมื่อโลกอนาคตมาถึงแล้ว เราควรเตรียมพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงต่างๆ รวมถึงพร้อมทีจะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆและพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา หากใครอยู่เฉย ไม่พัฒนาแล้ว ย่อมเท่ากับว่านับถอยหลังนั้นเอง ดังนั้น วันนี้แอดมิน Jobcute มีบทความดีๆให้ทุกท่านได้อ่านเกี่ยวกับเมื่อโลกการทำงานเปลี่ยนไป อาชีพอะไรที่เปลี่ยนตามไปบ้างและควรรับมือได้อย่างไร

5 วิธีรับมือเมื่อโลกการทำงานเปลี่ยนไป

1. ระบบเครื่องจักรที่เข้ามาแทนที่ และระบบดิจิทัลที่แตกต่างกันในแต่ละธุรกิจ

ตั้งแต่มีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงในสมาร์ทโฟน ปัญญาประดิษฐ์ การวิเคราะห์ Big Data ตลอดจนไปถึงเทคโนโลยีเกี่ยวกับคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) ล้วนเป็นสิ่งที่จะผลักดันให้องค์กรและบริษัทต่างๆปรับตัวกับเทคโนโลยีใหม่ๆที่เกิดขึ้น นอกจากนี้จะมีหลายบริษัทที่เริ่มลงทุนค้นคว้าเกี่ยวกับ Machine Learning และเทคโนโลยีสภาพแวดล้อมจริงกับวัตถุเสมือน (Augmented Reality) การจำลองสภาพแวดล้อมจริง (Virtual Reality) เป็นต้น แม้ว่าการลงทุนด้านเทคโนโลยีล้ำหน้ามากๆ แต่จะยังจำกัดอยู่ในวงแคบ อย่างไรก็ตามมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยหุ่นยนต์อุตสาหกรรมแบบที่มีฐานอยู่กับที่ น่าจะเป็นเทคโนโลยีที่มีการนำมาแพร่หลายภายในปี 2022 และมีการใช้งานที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเภทธุรกิจ

2. แม้ว่าหลายๆอาชีพจะยุบลง แต่ความต้องการแรงงานในอาชีพใหม่ๆก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน

แม้ว่าปัจจุบันและอนาคตจะมีหลายอาชีพที่ยุบลงก็ตาม แต่มีสายอาชีพที่โตขึ้นเรื่อยๆ คือ อาชีพที่ต้องอาศัยคุณสมบัติของมนุษย์นั่นเอง

จากสถิติองค์กรใหญ่ๆทั่วโลก รายงานว่า อาชีพใหม่ที่เกิดในปัจจุบันที่เพิ่มจาก 16 % เป็น 27% และภายในปี 2022 ในขณะที่งานที่ได้รับผลกระทบจากเทคโนโลยีที่ล้าหลังนั้น จะลดลงจาก 31% เหลือ 21% นั่นหมายความว่า กว่า 75 ล้านตำแหน่งที่อาจจะได้ผลจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในการทำงาน นอกจากนี้ยังส่งผลให้มีตำแหน่งงานว่างอีก 133 ล้านตำแหน่งที่คาดว่าจะขึ้นใหม่ โดยสายอาชีพที่กำลังเติบโตนั้นได้แก่ นักวิเคราะห์ข้อมูล นักพัฒนาซอฟต์แวร์และแอพพลิเคชั่น การค้าออนไลน์ และผู้เชี่ยวชาญด้านโซเซียลมิเดีย สรุปได้คือ อาชีพที่กำลังเติบโตในปัจจุบันและอนาคต ล้วนเป็นสายอาชีพด้านเทคโนโลยีทั้งนั้น

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าสนใจคือ สายอาชีพที่คาดการณ์ว่าโตขึ้นคืออาชีพที่ต้องอาศัยคุณสมบัติของมนุษย์ เช่น บริการลูกค้าสัมพันธ์ งานการตลาดและงานขาย การฝึกฝนและการพัฒนา ฝ่ายบุคคลและวัฒนธรรม ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญด้านองค์กรและผู้จัดการฝ่ายนวัตกรรม

5 วิธีรับมือเมื่อโลกการทำงานเปลี่ยนไป

3. สัดส่วนของการทำงานของคนเมื่อเปรียบเทียบกัยเครื่องหรือระบบ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

เจ้าของธุรกิจในหลายๆองค์กรคาดว่า สัดส่วนของการทำงานของคนเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องหรือระบบ จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเร็วมาก โดยปกติแล้ว ชั่วโมงการทำงานของมนุษย์อยู่ที่ 71% ในขณะที่อีก 29% มาจากหุ่นยนต์หรือระบบ ซึ่งในปี 2022 คาดว่า ค่าเฉลี่ยดังกล่าวจะถูกเปลี่ยนแปลงโดยสัดส่วนการทำงานของมนุษย์อยู่ที่ 58% และหุ่นยนต์หรือระบบเพิ่มขึ้นเป็น 42%

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีงานไหนที่หุ่นยนต์จะทำเป็นหลัก แต่ภายในปี 2022 การประมวลข้อมูลขององค์กร การสืบค้นข้อมูลและการถ่ายโอนข้อมูลจะอาศัยเครื่องจักร โดยในส่วนของการวิเคราะห์เหตุผล ความสามารถในการตัดสินใจ การบริหารจัดการ และการสืบค้น โดยเริ่มทำได้โดยระบบมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีงานอื่นอีกมากมายที่ยังต้องอาศัยความสามารถของมนุษย์ ได้แก่ การสื่อสาร การปฏิสัมพันธ์ การประสานงาน การจัดการ และให้คำแนะนำ ระบบเริ่มทำแทนที่ได้บ้างแล้วในส่วนหนึ่ง

4. งานใหม่ที่เกิดขึ้นกับทักษะใหม่ๆที่ต้องเรียนรู้เพิ่มเติม

ภายในปี 2022 ทักษะการทำงานจะเปลี่ยนแปลงโดยชิ้นเชิง ซึ่งทักษะที่เติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด คือทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลและเรียนรู้เรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ความต้องการในด้านทักษะของเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นในหลากหลายรูปแบบ แต่ทักษะความสามารถของมนุษย์อย่าง ความคิดสร้างสรรค์ ความคิดที่แตกต่าง ความคิดริเริ่ม การคิดเชิงวิเคราะห์ การโน้มน้าว การเจรจา ก็ยังมีคุณค่าเท่าเดิมและเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย เพราะความละเอียดรอบคอบ ความสามารถในการปรับตัวความยืดหยุ่น และการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนต่างๆ หุ่นยนต์หรือระบบไม่สามารถมาแทนที่มนุษย์ได้

5 วิธีรับมือเมื่อโลกการทำงานเปลี่ยนไป

5. หมั่นเรียนรู้และพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ

พนักงานส่วนใหญ่จะต้องใช้เวลาในการฝึกฝนทักษะเดิมและทักษะใหม่เพิ่มเติมก่อนที่จะถึงปี 2022 ทักษะที่ขาดหายในคนทำงานหรือในผู้นำองค์ร อาจทำให้การเติบโตและความก้าวหน้าขององค์กรต้องสะดุด นอกจากนี้ บริษัทกว่า 2 ใน 3 จำเป็นต้องอาศัยจ้างพนักงานนอกเป็นพนักงานชั่วคราว เพื่อเพิ่มเติมทักษะที่องค์กรพัฒนาไม่ทัน ดังนั้น องค์กรต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบในแง่ของการฝึกพนักงานในทักษะเดิมและเสริมทักษะใหม่จะเป็นตัวกำหนดความสำเร็จในการปรับตัว

 

ความคิดเห็นของคุณ

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่