คณะหรือสาขาวิชาโลจิสติกส์ที่ใครหลายคนต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เรียนไปทำไม ถึงเรียนไปก็ตกกงานอยู่ดี วันนี้ Jobcute ก็เลยมีบทความดีๆมาให้ผู้อ่านได้อ่านกันค่ะว่า เรียนโลจิสติสก์แล้ว จบไปจะทำงานอะไร เงินเดือนมากน้อยแค่ไหน เราไปอ่านกันพร้อมๆกันเลยค่ะ
สาขาวิชาโลจิสติกส์นั้น จะศึกษาเกี่ยวกับการจัดการระบบขนส่ง การดูแลควบคุมการจัดเก็บ การเคลื่อนย้ายสินค้า ตลอดจนบริการทั้งทางภาคพื้นดิน ทางเรือ ทางอากาศ เป็นต้น นอกจากนี้ สาขาโลจิสติกส์จะเรียนเกี่ยวกับระบบการขนส่งในทุกรูปแบบเลยไม่ว่าจะเป็นทางบก ทางอากาศ และทางเรือ โดยใน 1 ปี จะมีวิชาเรียนพื้นฐานทั่วไปได้แก่ ธุรกิจ การบริหารจัดการ การตลาด การเงิน ภาษาอังกฤษ แคลคูลัส สถิติ มนุษยศาสตร์ เป็นต้น และในปีต่อมาจะเรียนในรายวิชาเฉพาะ เช่น การขนส่งและการกระจายสินค้า วัสดุและบรรจุภัณฑ์ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การวางแผนอุปสงค์และสินค้าคงคลัง การจัดการโซ่อุปทานเชิงกลยุทธ์ เทคโนโลยีสำหรับสารสนเทศสำหรับโลจิสติกส์ การค้าการจัดการ การขนส่งโลจิสติกส์ โซ่อุปทาน เป็นต้น ซึ่งนักศึกษาที่เรียนสาขาโลจิสติกส์จบมาจะได้วุฒิการศึกษาเป็นวิทยาศาสตร์บัณฑิต Jobcute บอกเลยว่าพอเรียนจบแล้วไม่ตกงานแน่นอนค่ะ เนื่องจากตลาดแรงงานในด้านโลจิสติกส์เป็นที่ต้องการมากไม่ว่าจะเป็นในประเทศหรือต่างประเทศก็ตาม ซึ่งบัณฑิตสามารถทำงานได้ทั้งภาครัฐและเอกชนหรือประกอบธุรกิจส่วนตัว โดยมีขอบเขตงาานในด้านการขนส่ง งานจัดการดูแลคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า งานบริการด้านโลจิสติกส์ งานให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อช่วยลดต้นทุน ตลอดจนสามารถทำงานด้านนักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือนวัตกรรมทางด้านธุรกิจ อาจารย์ในสถาบันการศึกษา หรือนักวิชาการด้านการบริหารธุรกิจ เป็นต้น
เส้นทางอาชีพเมื่อเรียนจบสาขาโลจิสติกส์
แอดมินมั่นใจเลยค่ะว่าใครเรียนจบสาขานี้แล้ว รับรองว่าไม่ตกงานอย่างแน่นอน เรามาดูสายงานอาชีพเลยค่ะว่าเรียนจบแล้วสามารถทำงานอะไรได้บ้าง
- บริษัท Freight Forwarder ปัจจุบันประเทศไทยมีบริษัทที่เป็น Freight Forwarder มากกว่า 500 บริษัท ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำหน้าที่ผู้นำเข้าและส่งออกสินค้าในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การขนส่ง การจองระวางเรือ การแพ็คสินค้า การดำเนินพิธีการศุลกากรทั้งขาเข้าและขาออก เป็นต้น
- บริษัทสายเรือ ซึ่งในประเทศไทยเองมีบริษัทสายเรือมากกว่า 20 สายเรือดังๆ เช่น Maersk, NYK, Kline, OOCL เป็นต้น
- บริษัทนำเข้า-ส่งออก
- บริษัทประกัน เช่น บริษัทประกันภัยทางทะเล
- บริษัทคูเรียร์ (Courier Post) ที่บริการจัดส่งสิ่งของด่วนระหว่างประเทศทางอากาศทั้งในรูปแบบต่างๆ เช่น บริษัท DHL, UPS, TNT, และ Fedex เป็นต้น
- ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ในส่วนงานการให้สินเชื่อเพื่อการนำเข้า-ออก SME
- บริษัท ชิปปิ้ง (Shipping) คือ ตัวแทนของผู้นำเข้าและผู้ส่งออกในการดำเนินการศุลกากรแทนผู้นำเข้าและผู้ส่งออกซึ่งเป็นเจ้าของสินค้า จัดทำใบขนส่งสินค้า ยื่นใบขนส่งสินค้าต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ณ ด่านศุลกากรเพื่อให้มีการตรวจปล่อยสินค้าและส่งมอบสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศให้แก่ผู้นำเข้าหรือส่งสินค้าออกนอกอาณาจักร เป็นต้น
ประสบการณ์กับเงินเดือนสายอาชีพโลจิสติกส์
- นักศึกษาจบใหม่ที่ไม่มีประสบการณ์เลย เงินเดือนเริ่มต้นที่ 12,000-15,000 บาท
- ประสบการณ์ 1-2 ปี เงินเดือนเริ่มต้นที่ 15,000-20,000 บาท
- ประสบการณ์ 2-5 ปี เงินเดือนเริ่มต้นที่ 20,000 ขึ้นไป จนถึง 70,000-80,000 บาท
- มีประสบการณ์ 10 ปีขึ้นไป เงินเดือนเริ่มต้นที่ 80,000 – 100,000 บาท
อย่างไรก็ตาม วันนี้ Jobcute มีบริษัทโลจิสติกส์ 10 แห่งด้วยกันมานำเสนอให้กับผู้ที่สนใจในสายงานด้านนี้ ซึ่งเป็นบริษัทที่มีการบริการที่ดีเยี่ยมและเป็นที่สนใจของใครหลายๆคน ดังต่อไปนี้
- บริษัท เคซีที โกลบอล โลจิสติกส์ จำกัด (KTC Global Logistics)
- บริษัท ยูนิค ทรานส์ลิงค์ จำกัด (Unique Translink)
- บริษัท ตงสึ่น โลจิสติกส์ จำกัด (Tong Suen Logistics)
- FastShip.Co
- China Sipping One Stop Services
- D-One Logistics
- Logistics 2 Day
- Kitpong Shipping
- Good Freight and Transports Co.,Ltd.
- SK Transport
ดังนั้น อย่ากังวลเลยค่ะว่าถ้าเรียนสาขานี้แล้วจบมาจะไม่มีงานทำ เพราะในประเทศไทยมีบริษัทด้านโลจิสติกส์มากมายที่รองรับผู้สมัครงานให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร