บริษัทที่ไม่ควรจะร่วมงานด้วย
คุณอาจจะเป็นคนที่กำลังหางานใหม่อยู่ใช่หรือไม่? หรืออาจจะเป็นน้อง ๆ นักศึกษาจบใหม่ ที่เพิ่งผ่านรั้วมหาวิทยาลัย และกำลังหางานผ่าน เวปไซต์สมัครงาน ต่าง ๆ ที่มีอยู่มากมายในปัจจุบันนี้ แต่ถ้าใครที่ผ่านการทำงานมาบ้างแล้ว ก็มักที่จะรู้จักองค์กรทั้งที่มีชื่อเสียงและไม่มีชื่อเสียงอยู่บ้าง อีกอย่างคุณก็จะเข้าใจวัฒนธรรมขององค์การอยู่บ้างเช่นกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็จะมีผลในการทำงานของเราเวลาที่เราเข้าไปทำงานในองค์กรนั้น ๆ แล้วทำไมจู่ ๆ ก็อยากจะยื่นใบลาออกซะตั้งแต่วันแรกเลยก็มีนะคะ แต่สำหรับน้อง ๆ นักศึกษาจบใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์ทำงานที่ใดเลยนั้น ก็อาจจะทำได้แค่เลือกตำแหน่งงานตามที่เราถนัดหรือตามสายงานที่เราสามารถสมัครได้เท่านั้น อาจจะเลือกที่ใกล้บ้าน หรือเลือกจากเงินเดือนตามที่เราต้องการ แต่นั่นก็จะทำให้คุณไม่รู้เลยว่าบริษัทนั้น ๆ น่าร่วมงานด้วยหรือเปล่า?
และในวันนี้แอดมิน JobCute ก็มีเกร็ดเล็ก ๆ น้อย เพื่อเป็นข้อแนะนำสำหรับทุก ๆ คนเกี่ยวกับ บริษัทที่เราไม่น่าร่วมงานด้วย จะมีอะไรบ้างนั้น เราไปติดตามกันได้เลยนะคะ
- ตำแหน่งงานที่มีการประกาศรับสมัครงานตลอดเวลา เติมเท่าไหร่ก็ไม่เคยเต็ม
ก่อนอื่นเราต้องสังเกตก็คือ อัตราคนเข้า-ออกทำงาน และอัตราการลาออกมีสูงหรือเปล่า? บางองค์กรอาจมีการจ้างพนักงานตำแหน่งเดิม ๆ อยู่ทุก ๆ หกเดือนหรือในหนึ่งปีเลยทีเดียว การประกาศจ้างตำแหน่งงานซ้ำ ๆ บ่อย ๆ ย่อมเกิดจากมีการบริหารภายในที่ไม่ดีหรือมีวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่น่าจะโอเคอย่างแน่นอน
- นัดสัมภาษณ์งานพร้อมกัน
สำหรับเหตุการณ์แบบนี้ ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ แต่บางบริษัทก็เลือกที่จะประหยัดเวลาในการสัมภาษณ์โดยการนัดผู้สมัครงานเข้าสัมภาษณ์โดยฝ่ายบุคคลพร้อมกันทีเดียวอีกด้วย ถ้าบริษัททีคุณยังไม่สามารถสัมภาษณ์งานแบบเดี่ยวเป็นรายบุคคลได้แล้วล่ะก็ แอดมินขอแนะนำเลยให้คุณอย่าไปเสียเวลาที่นี่เลยดีกว่าเพราะบ่งบอกถึงความไม่เป็นมืออาชีพแล้วยังไงล่ะคะ
- ชื่อเสียงและวัฒนธรรม
เชื่อว่าแน่นอนก่อนที่คุณจะเลือกสมัครงานกับที่ใดที่หนึ่ง คุณจะต้องสำรวจชื่อเสียงขององค์กรนั้น ๆ จากในเว็บไซต์ต่าง ๆ แน่นอนโดยเฉพาะในโซเชียลมีเดียที่สามารถดูคอมเมนท์ต่าง ๆตามเพจได้ เชื่อเถอะว่าเรื่องเหล่านี้มีผลกับการทำงานของคุณอย่างแน่นอน แบบนี้คือ บริษัทไม่น่าร่วมงาน อย่างแน่นอน
- สถานที่ทำงานดูไม่เป็นมิตร
ลองสังเกตดูในส่วนของบริเวณของพนักงานในระดับทั่วไปว่ามีการจัดสรรให้สามารถทำงานอย่างเหมาะสมหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นแสงสว่างของโต๊ะทำงาน ความเป็นระเบียบเรียบร้อยในส่วนต่าง ๆ ย่อมบ่งบอกถึงการเอาใจใส่ต่อพนักงานขององค์กรนั้น ๆได้เป็นอย่างดี ลองนึกภาพหากคุณต้องเข้าไปทำงานในทางเดินที่เต็มไปด้วยอุปกรณ์เกะกะทางเดินหรือโต๊ะที่มีไฟติด ๆดับ ๆ คงต้องมีซักวันที่คุณอาจจะเดินสะดุดข้าวของหรือเสียสุขภาพทั้งกายและใจแน่ ๆ
- บริษัทไม่มีตัวตนจริง
หลายครั้งที่บริษัทที่ประกาศรับสมัครคนอยู่ ทั้งเว็บไซท์มีข้อมูลระบุเพียงต้องการคนในตำแหน่งนั้น ๆ แต่ไม่มีข้อมูลประวัติของบริษัท ยิ่งทำให้ดูเหมือนบริษัทหลอกลวงและเป็นมิจฉาชีพเสียมากกว่า
- ไม่มีการส่งเสริมด้วยการฝึกอบรมสำหรับการทำงาน
แน่นอนว่าองค์กรไม่เพียงแต่ต้องมีการอบรมอย่างเป็นทางการให้แก่พนักงานอย่างพอเหมาะเพื่อช่วยส่งเสริมให้พนักงานได้พัฒนาตนเอง แต่ถ้าเป็นองค์กรที่ไม่ให้การสนับสนุนใด ๆในการพัฒนาองค์กร คงไม่คุ้มในการอุทิศแรงกายและใจในการทำงานเท่าใดนัก
- การปล่อยให้รออย่างไร้จุดหมาย
หลังจากได้มีการสัมภาษณ์ผ่านพ้นไปแล้วนั้น เรามักที่จะตั้งหน้าตั้งตารอคอยโทรศัพท์ หรือคำตอบจากฝ่ายบุคคลถึงผลการสัมภาษณ์งาน ซึ่งถ้าหากคุณได้รับการติดต่อพร้อมกับการต่อรองข้อเสนอต่าง ๆรวมถึงการที่บริษัทไม่กำหนดวันที่ให้คำตอบอย่างชัดเจน คุณควรมองหาบริษัทร่วมงานที่อื่นดีกว่า อย่างเช่น คุณไปสมัครงานและสัมภาษณ์งานในตำแหน่ง การตลาด แต่ทาง HR โทรมาต่อรองเพื่อให้คุณไปทำงานในตำแหน่ง พนักงานของอสังหาริมทรัพย์ เช่นนี้เป็นต้น เพราะแน่นอนคุณอาจจะไม่มีความถนัดในงานนั้น ๆ ก็อาจจะส่งผลให้คุณเกิดความเบื่อหน่ายได้ในอนาคต จึงถือได้ว่าบริษัทแบบนี้เราไม่ควรที่จะร่วมงานด้วยตั้งแต่แรกดีที่สุดค่ะ
- ขาดการแสดงความคิดเห็น หรือไร้สิทธิ์ออกเสียง จากพนักงานระดับล่าง
ถ้าองค์กรที่คุณเลือกไปร่วมงานด้วยเต็มไปด้วยการตัดสินใจจากเหล่าผู้บริหารและผู้จัดการทั้งหมด แต่พนักงานระดับล่างไม่มีสิทธิ์มีเสียงหรือถูกมองข้ามไป คุณเลือกทำงานที่อื่นเถอะค่ะ เพราะทุกความคิดเห็นของคุณจะถูกเพิกเฉยอย่างแน่นอน
- หนทางในสายอาชีพไม่ชัดเจน
ในการทำงาน ทุกคนย่อมอยากเห็นการพัฒนาในสายอาชีพตนเอง และแน่นอนว่าย่อมคาดหวังทิศทางที่ชัดเจนจากหัวหน้างานและฝ่ายบุคคลถึงการพัฒนาตนเอง บริษัทไหนที่ไม่สามารถช่วยคุณพัฒนาความรู้และทักษะในสายอาชีพการทำงานได้ คุณควรพิจารณาที่อื่นเช่นกันนะคะ เพราะสมัยนี้บริษัทใหญ่ ๆ ที่มีชื่อเสียงต่างก็ให้ความสำคัญในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก
- สัญญาณแว่ว ๆ ถึงความไม่มั่นคงในองค์กร
บริษัทที่ทุกอย่างดูดำเนินกิจการไปอย่างราบรื่น แต่กลับไม่มีทิศทางในการดำเนินงานที่ชัดเจนในอนาคต และผู้บริหารระดับสูงไม่สามารถทำให้บรรลุเป้าหมายได้ บ่งบอกถึงสัญญาณความไม่มั่นคงในองค์กรเช่นเดียวกัน รู้อย่างงี้แล้วก็อย่าไปเสี่ยงเลยดีกว่า
อันนี้แค่เป็นส่วนหนึ่งนะคะ สำหรับเราไว้ใช้เป็นแนวทางในการประเมินองค์กรหรือบริษัทที่เราจะไปร่วมงานด้วย นอกจากนี้ก็จะมีปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเดินทาง ค่าครองชีพ หัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงานอีกด้วย ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนได้งานจากองค์กรที่มีคุณภาพสมปรารถนาทุกคนนะคะ