แอดมินเชื่อว่าทุกวันนี้ทุก ๆ คนต่างก็ต้องทำงาน และก็ทำงานเป็นการประกอบอาชีพ เพื่อให้ชีวิตสามารถที่จะดำเนินต่อไปข้างหน้าได้ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานส่วนตัว เป็นเจ้าของกิจการ และเป็นนายตัวเอง แบบนี้ก็จะไม่ค่อยจะมีความเครียดในสถานที่ทำงานเท่าไรนัก แต่ถ้าเป็นอีกประเภท ที่เป็นกลุ่มพนักงานบริษัทฯ หรือข้าราชการ ที่ต่าง ๆ ก็เป็นลูกจ้างเขานั้น เชื่อได้เลยว่าในทุก ๆองค์กร  พนักงานทุกคนต้องทำงานภายใต้แรงกดดัน ซึ่งแรงกดดันในการทำงานบริษัทที่เอาใจใส่พนักงานจะมองเห็นปัญหาดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการมีสิ่งสันทนาการเพื่อผ่อนคลายให้แก่พนักงานแบบต่าง ๆ เช่นการจัดให้มีการแข่งขันกีฬาสี การท่องเที่ยวหรือเรามักจะเรียกติดปากว่า Outing  ยิ่งบางคนที่ต้องทำงานในเมืองหลวง อย่างเช่น กรุงเทพฯ ที่มีสภาพแวดล้อม ที่มีการจราจรคับคั่ง รถติด สิ่งเหล่านี้ก็อาจจะทำให้เรารู้สึกเครียดไม่แพ้กับแรงกดดันในสถานที่ทำงานแน่นอน ไม่ว่าจะอย่างไร สิ่งสำคัญที่สุดคือ ตัวพนักงานเอง ก็ควรที่จะต้องรู้จักวิธีการจัดการแรงกดดันต่าง ๆ เหล่านั้นในการทำงานให้สามารถทำงานจนลุล่วงได้ แต่ก็ยังมีสุขภาพกายและใจที่ดีอีกด้วย เพราะถ้าต้องทำงานอยู่ภายใต้แรงกดดัน จนเราเครียดและต้องไปรักษาตัวใน สถานที่พยาบาล อันนี้แอดมินว่ามันก็ไม่คุ้มกันสักเท่าไรแน่นอนค่ะ

แรงกดดันในการทำงาน เป็นสิ่งที่ที่สามารถบ่งบอกได้ถึงภาระการทำงานที่แตกต่างกันไปในสายงานอาชีพต่าง ๆ หากมีความเครียดเกิดขึ้น ควรหาวิธีการจัดการโดยใช้เวลาให้เร็วที่สุด และไม่ควรปล่อยทิ้งไว้เด็ดขาด

1. แรงกดดัน คือ สิ่งกระตุ้นในการทำงานเป็นอย่างดี

แรงกดดันในการทำงาน จริง ๆ แล้วคือสิ่งที่กระตุ้นให้เราเกิดการทำงานเป็นอย่างดี ธรรมชาติของมนุษย์คือสิ่งมีชีวิตที่ต้องเอาตัวรอด เราจึงต้องการความท้าทายผ่านอุปสรรคต่าง ๆ ไปให้ได้ซึ่งทำให้เราเกิดการพัฒนาตัวเองมากยิ่งขึ้น ดังนั้น จึงไม่ควรมองแรงกดดันในทางลบจนเกินไป สิ่งที่ต้องทำคือคุณควรจะเข้าใจสิ่งที่กดดันในการทำงาน และพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสให้ได้ ควรมองว่า แรงกดดันเหล่านั้นมันเป็นเรื่องปกติในการทำงานที่ต้องเจอกันทุกคน และทุกก ๆ บริษัท

2. ประเมินความท้าทายและความเสี่ยงที่คุณรับได้

การประเมินแรงกดดันในการทำงานช่วยให้เรามีวิธีในการรับมือกับแรงกดดันในการทำงานได้ โดยเฉพาะเมื่อความคิดเราโล่งโปร่งสบายแล้ว ย่อมสามารถคิดหาวิธีการแก้ไขปัญหาได้ดีกว่า ในขณะเดียวกัน หากเราคิดหาวิธีในการแก้ไขปัญหาได้ เราจะพาตัวเองไปหาวิธีการจนสามารถแก้ไขแรงกดดันดังกล่าวได้ และจะไม่ทำให้เราเกิดความเครียดอีก

3. วางแผนล่วงหน้า และคอยถามตัวเอง หากเกิดกรณีอื่น ๆ ขึ้นจะทำอย่างไร

การวางแผนไว้ก่อนถึงแม้ว่าอาจมีการผิดแผนจากที่คิดไว้ แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่การเปลี่ยนแปลงแผนได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำต่างหากคือสิ่งสำคัญ การมีแผนสำรองไว้ในกรณีที่แผนหลักไม่เป็นอย่างใจหวัง หรือเกิดสิ่งไม่คาดคิดถือเป็นความคิดที่ดี เพราะจะช่วยลดความเครียดจากความผิดพลาดได้เยอะทีเดียว

4. ควบคุมตัวเองให้ดี

การโต้ตอบกับความท้าทายในรูปแบบต่าง ๆ เป็นหนึ่งในกระบวนการเรียนรู้และบางครั้งต้องรู้จักถอยหลังเพื่อคิดหาวิธีการแก้ปัญหาที่เจอ ตั้งคำถามให้ถูกเมื่อเจอปัญหาซึ่งจะช่วยให้เข้าใจโอกาสในการแก้ไขได้ดียิ่งขึ้นโดยเฉพาะเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่คับขัน ยิ่งคุณควบคุมตัวเองได้ดีเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งแก้ไขปัญหาต่าง ๆได้ดีมากขึ้นเท่านั้น

5. จัดการความเครียดในการทำงาน จัดการเรื่องต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน

วิธีการในการบรรเทาความเครียดของคุณในการทำงานจะช่วยให้คุณสามารถรับมือกับแรงกดดันต่าง ๆในชีวิตประจำวันของคุณได้ ทำให้คุณอยู่เหนืออุปสรรคทั้งหมดและก้าวต่อไปข้างหน้าได้ แม้ในวันที่คุณเหนื่อยล้าคุณก็ยังยิ้มออกได้ หากคุณรู้จักที่จะขจัดความเครียดออกไปได้

ต้องจำไว้เสมอว่าทุก ๆ การทำงานล้วนจะต้องเจอกับปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นตัวของงานเอง หรือว่าเพื่อนรวมงานก็แล้วแต่ ถ้าหากเรารู้จักวิธีรับมือกับปัญหาต่าง ๆ เหล่านั้น ก็จะไม่มีอะไรที่เป็นเรื่องยากอีกเลยสำหรับเรา ที่สำคัญนอกจากข้อคิดดี ๆ ที่ทาง JobCute ได้เสนอมาแล้วนั้น อีกอย่างคือคุณจะต้องเล่าปัญหาที่เจอะเจอมา พูดคุยกับเพื่อน ๆ คนรู้จัก หรือคนในครอบครัว ย่อมจะเป็นการแก้ปัญหาที่ดีกว่าการเก็บปัญหาเหล่านั้นไว้กับตัวเราเองแน่ ๆ จำไว้นะคะว่า “ปัญหาทุกปัญหานั้นมีไว้ให้แก้ ไม่ได้มีไว้ให้ท้อค่ะ” แอดมินขอเป็นกำลังใจให้กับทุก ๆ คน ที่ต้องทำงานภายใต้แรงกดดันต่าง ๆ นะคะ

 

ความคิดเห็นของคุณ

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่