ปัจจุบันนี้โลกและเทคโนโลยีเปลี่ยนไปมากและเร็วจนเรา ๆ ทั้งหลาย ต้องวิ่งตามสิ่งเหล่านี้ให้ทัน ไม่งั้นก็อาจจะกลายเป็น ไดโนเสาร์เต่าล้านปี ไปโดยไม่รู้ตัวกันนะคะ วันนี้แอดมินก็สาระดี ๆ น่ารู้เกี่ยวกับวิธีการสมัครสำหรับนักศึกษาจบใหม่ และเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันสักนิดนะคะว่า การสมัครงานในยุคสมัยนี้ ไม่ได้มีเพียงการเดินทางไปสมัครที่บริษัทได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่เป็นการสมัครงานผ่าน เว็บไซต์จัดหางานออนไลน์ ก็เป็นตัวช่วยอย่างดีที่สุดในการหางานในปัจจุบัน แต่ทั้งนี้ตัวเราเองก็ต้องมีการเตรียมความพร้อมในการไปสัมภาษณ์งานและมีคุณสมบัติตรงตามที่นายจ้างต้องการด้วย มาดูกันนะค่ะว่าจะมีอะไรกันบ้าง
สิ่งที่น้อง ๆ นักศึกษาจบใหม่ ควรรู้ไว้!!
1. ช่วยประหยัดเวลามากขึ้น เมื่อใช้เว็บไซต์ช่วยในการหางาน
ในหลาย ๆ เว็บไซต์หางานมักจะมีตัวเลือกที่บอกว่า “Advanced Search” หรือตัวช่วยในการค้นหาขั้นสูง ที่เราสามารถใช้คำคีย์เวิร์ดในการค้นหางานที่ต้องการได้ เพียงแค่เราเลือกใส่ข้อความเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ตั้งบริษัท ชื่อบริษัท ตำแหน่งงาน ประเภทงานที่ต้องการ เป็นต้น เพื่อช่วยประหยัดค่าใช่จ่ายในการเดินทาง เพราะถ้าหากเราแต่งตัวออกเดินทางไปเพื่อสมัครงานด้วยตนเอง ที่บริษัท ก็ได้เหมือนกัน แต่นั่น อย่าลืมนะคะว่าทุกครั้งที่เราไปสมัครงานใช่ว่าจะได้สัมภาษณ์เลยในวันนั้น อาจทำได้แค่เพียงกรอกใบสมัครทิ้งไว้แล้วเจ้าหน้าที่ก็จะแจ้งว่า “จะติดต่อไปอีกครั้งนะคะ” แต่เรานั้นมีค่าใช้จ่ายแล้ว ไหนจะค่ารถ ค่ากิน จิปาถะค่ะ
2. สมัครงานทุกตำแหน่ง ไม่ใช่ความคิดที่ดี
เราไม่ควรที่จะสมัครงานทุกตำแหน่งที่เจอ เพียงเพราะคิดว่าลองสมัครไปเถอะเผื่อได้ เราควรที่จะเลือกสมัครตำแหน่งที่เราต้องการหรือมีคุณสมบัติตรงกับที่บริษัทต้องการ ซึ่งจะมีโอกาสในการเรียกไปสัมภาษณ์มากกว่าการส่งเรซูเม่ไปแบบสุ่มๆ หรือทุกตำแหน่งงาน โดยก่อนที่เราจะทำการสมัครนั้น ควรที่จะพิจารณางานในตำแหน่งนั้นให้ดีเสียก่อนว่าเรามีคุณสมบัติตรงหรือไม่ เหมาะกับเราหรือไม่ และเราอยากทำงานในตำแหน่งนั้นจริง ๆ หรือเปล่า เช่น ถ้าเราชอบการเป็นพนักงานขาย งานอิสระ ไม่ผูกมัดเรื่องเวลา ไม่ต้องนั่งโต๊ะทำงานในออฟฟิศ เราก็ควรที่จะสมัครงานเกี่ยวกับพนักงานขายอสังหาริมทรัพย์ หรือ งานประกันภัย เพราะงานประเภทนี้เป็นงานอิสระ ออกหาลูกค้าเป็นหลัก
3. อย่าหยุดสมัครงาน ขณะที่รอผลสัมภาษณ์งาน
เมื่อเราถูกเรียกไปสัมภาษณ์มาแล้วหลายบริษัท แต่ในเมื่อผลการสมัภาณ์ยังไม่ออกมา เราก็ไม่ควรที่จะรออยู่เฉย ๆ เพราะเราไม่รู้ว่าเราจะได้งานนั้นหรือเปล่า ดังนั้นระหว่างที่กำลังรอผลอยู่นั้นเราก็สามารถที่จะสมัครงานไปได้เรื่อย ๆ เพราะบางทีเราอาจจะได้งานที่ดียิ่งกว่าก็ได้ เราทำการส่งเรซูเม่สมัครงานออนไลน์กับเวปไซต์ต่าง ๆ ที่มีอยู่มากมาย ตามที่เราต้องการ
4. เขียนเรซูเม่ให้ตรงกับตำแหน่งงานที่เลือก
นอกจากที่เราจะต้องดูคุณสมบัติของงานแล้วว่าตรงกับทักษะที่เรามีหรือไม่นั้น อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญก็คือการเขียนเรซูเม่อย่างไรให้มีความโดดเด่น มีความน่าสนใจ ดังนั้นเราควรที่จะต้องปรับแต่ง แก้ไข เรซูเม่ให้มีความเหมาะสมกับงานในแต่ละตำแหน่งที่เราจะทำการสมัครด้วยเช่นกัน
5. ไม่จำเป็นที่จะต้องใส่ประสบการณ์ทำงานทั้งหมด
เพื่อนๆ บางคนอาจจะมีประวัติการทำงานที่ค่อนข้างยาวหรือผ่านงานมาแล้วหลายที่ด้วยกัน ดังนั้นเราไม่ควรที่จะใส่ไปทั้งหมด เพราะอาจจะทำให้นางจ้างหรือบริษัทที่เราไปสมัครรู้สึกว่าเราไม่เหมาะสมกับตำแหน่งงานที่เปิดรับสมัครอยู่ก็อาจจะเป็นไปได้ เราควรที่คัดแต่ประสบการณ์การทำงานที่สำคัญหรือตรงกับงานที่เรากำลังจะสมัครจะดีกว่า
6. แต่งตัวให้เหมาะสมกับงานดูแล้วมีมาตรฐานสมบูรณ์แบบ
ความประทับใจแรกของการไปสมัครงานหรือไปสัมภาษณ์งานก็เป็นสิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้ในเรื่องอื่น ๆ เลย และส่วนประกอบหลักที่สำคัญก็คือ การแต่งกาย ก่อนที่เราจะออกจากบ้านเราควรที่จะเช็คความเรียบร้อยของการแต่งกาย เสื้อผ้า หน้า ผม รองเท้า ด้วยว่าเหมาะสมกับตำแหน่งที่เราจะไปสมัครหรือเปล่า ที่สำคัญต้องแต่งออกมาแล้วดูดีเหมือนมืออาชีพด้วยนะค่ะ เรียกได้ว่า ทุกอย่างต้องเป๊ะ ทุกกระเบียดนิ้วเลยทีเดียว
7. ความเป็นตัวของตัวเอง
ในเวลาสัมภาษณ์งาน เราควรที่จะต้องเป็นตัวของตนเองให้ได้มากที่สุด เพราะว่านายจ้างเขาต้องการทราบว่าเขาจะสามารถคาดหวังอะไรได้จากเราบ้าง ดังนั้นเราควรที่จะต้องแสดงความจริงใจและเป็นตัวเอง รอยยิ้มแบบปลอม ๆ และคำตอบแบบให้ผู้ฟังต้องการจ้างเรานั้นก็ควรที่จะลดลงไปบ้าง
8. พูดถึงทักษะการทำงานของเราเป็นสิ่งที่ดี
เมื่อนายจ้างถามคำถามในระหว่างการสัมภาษณ์งานอยู่นั้น ให้เราถ่ายทอดความเชี่ยวชาญและประสบการณ์การทำงานที่มีออกมาให้ได้มากที่สุด รวมถึงวิธีการจัดการกับสถานการณ์ที่ไม่คาดฝันที่เคยเจอในการทำงานมาด้วย หรือวิธีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เคยประสบมาด้วย เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้นายจ้างเห็นถึงวิธีการทำงานของเรา และสนใจที่จะจ้างเราในที่สุด
9. อย่าพูดอะไรที่ไม่ดีเกี่ยวกับนายจ้างเดิม
ในความเป็นจริงข้อผิดพลาดหลัก ๆ ในการสัมภาษณ์งานที่พบมากที่สุดก็คือ การที่เราพูดถึงนายจ้างเดิมในแง่มุมที่ไม่ดี หรือพูดสิ่งที่ไม่ดีออกมาเพียงอย่างเดียว โดยที่ไม่ได้พูดถึงข้อดีเลย และนี่ก็จะทำให้เราสัมภาษณ์งานไม่ผ่านในทันที
10. การสมัครงานที่เดิมมากกว่า 1 ครั้งไม่ใช่เรื่องผิด
ไม่ใช่เรื่องไม่ดีเลยที่เราจะเลือกสมัครงานในฝันของตัวเองหลายๆ ครั้ง ถึงแม้ว่าจะไม่ได้รับการตอบกลับจากบริษัทที่เราต้องการ แต่มันกลับเป็นสิ่งช่วยผลักดันให้เราพัฒนาตัวเองให้มากขึ้น เพื่อให้คุณสมบัติของเราตรงตามความต้องการของนายจ้างมากยิ่งขึ้น
เมื่อได้อ่านสาระดี ๆ แบบนี้แล้วคราวนี้น้อง ๆ หรือคนที่กำลังหางานก็จะได้เตรียมตัวและเตรียมความพร้อมเพื่อลงมือสมัครงานได้อย่างมีความมั่นใจและจะทำให้เรานั้นได้งานตามที่เราต้องการนั้นไม่ใช่เรื่องยากเลยนะคะ ขอเป็นกำลังใจให้กับทุก ๆ คนค่ะ