7 ปัจจัยเสี่ยงจากการบาดเจ็บในการทำงาน
คนเราต้องทำงานเป็นประจำในทุก ๆ วันและสำหรับบางอาชีพนั้น ก็อาจจะมีความเสี่ยงในการที่จะก่อให้เกิดการบาดเจ็บขึ้นได้ในระหว่างการทำงาน บางคนอาจจะแค่บาดเจ็บเล็ก ๆ น้อยก็ดีไป แต่ถ้าบางคนเกิดความบาดเจ็บมากจนถึงต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลนั้น ก็อาจจะทำให้เกิดความกังวลใจสำหรับมนุษย์เงินเดือนอย่างเราใช่ไหมค่ะ เราจะมาศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการบาดเจ็บจากการทำงานกัน ไปติดตามจากบทความที่ JobCute ได้นำมาให้อ่านกันเลยค่ะ
การบาดเจ็บจากการทำงานแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ แบบเฉียบพลันและแบบค่อยเป็นค่อยไป
- แบบเฉียบพลัน เช่น ยกวัตถุแล้วมีอาการบาดเจ็บของหลังทันที การบาดเจ็บแบบนี้ บอกได้ง่ายว่าเกิดจากการทำงานเพราะเกิดอาการทันทีในขณะที่ทำงาน
- แบบค่อยเป็นค่อยไป การบาดเจ็บแบบนี้ มักหาสาเหตุไม่ได้ คนทำงานจะบอกไม่ได้ว่าเกิดอาการขึ้นเมื่อใด อาการเจ็บป่วยเช่นนี้ทำให้มีปัญหามาก โดยเฉพาะการตัดสินว่าเกิดจากการทำงานหรือไม่ เพราะคนทำงานอาจไปทำงานอดิเรกหรือเล่น กีฬา การใช้สิทธิ์ในการลาพักงานเนื่องจากความเจ็บป่วยในการทำงานจะยุ่งยากยิ่งขึ้น
การบาดเจ็บทั้ง 2 ประเภทนี้ สามารถป้องกันได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการทำงาน 7 ประการ คือ
1.งานที่หนักเกินกำลัง จะรู้ได้อย่างไรว่างานนั้นหนักเกินไป การกำหนดน้ำหนักของวัตถุ เช่น กล่อง กระสอบ ให้ต่ำกว่าความสามารถสูงสุด เป็นวิธีการหนึ่งที่ป้องกันอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นแต่เป็นแบบโดยทั่วไปในระดับประชากร บ้านเราเพิ่งมีกฎกระทรวงแรงงานประกาศใช้ ห้ามคนทำงานยก แบก หาม ทูน น้ำหนักเกิน 7 กิโลกรัม ใช้บังคับเมื่อเดือนธันวาคมปี พ.ศ. 2547 การกำหนดน้ำหนักเป็นการกำหนดทั่วไปสำหรับประชากร ความแตกต่างในแต่ละตัวบุคคล เช่น ความแข็งแรง ความยืดหยุ่น ความอดทน มีผลต่ออัตราการบาดเจ็บในคนทำงาน ดังนั้นคนทำงานต้องถามตัวเองอยู่เสมอในขณะทำงานว่างานนั้นหนักเกินกำลังตัวเองหรือไม่ โดยต้องประเมินว่า ในการทำงานในวันหนึ่งๆ งานที่ต้องทำหนักเกินไปหรือไม่
2.งานซ้ำซาก งานบางอย่างแม้ไม่ต้องใช้แรงมากแต่ถ้าต้องทำงานนั้น ซ้ำไป ซ้ำมา หลายครั้ง ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บได้อาการบาดเจ็บแบบนี้พบบ่อยที่นิ้ว มือ และข้อมือ โดยเฉพาะคนทำงานคอมพิวเตอร์ คนงานตัดและเย็บเสื้อผ้า หลักการง่ายๆ ที่จะบอกว่างานนั้นมีปัญหาหรือไม่ ต้องใช้ปัจจัยเรื่องของความแข็งแรงเป็นหลัก ถ้างานใดก็ตามที่ต้องทำซ้ำซากและหนักเกิน 30 เปอร์เซ็นต์ของความสามารถสูงสุด โอกาสที่จะบาดเจ็บจากการทำงานจะมีสูงและให้ลองสังเกตดูว่าในวันรุ่งขึ้นก่อนทำงานอาการล้าและปวดเมื่อยหายไปหรือไม่ ถ้ายังรู้สึกอยู่แสดงว่างานที่ทำอยู่ซ้ำซากเกินไป ต้องหาวิธีการผ่อนแรงและจัดให้มีช่วงพักมากขึ้น
3.ท่าทางที่ไม่เหมาะสม (awkward postures) ลองยืนตรง แขนอยู่ข้างลำตัว ฝ่ามือหันไปทางด้านหน้า นี่คือท่าทางปกติที่ข้อต่อของร่างกายอยู่ในท่าที่เหมาะสม เมื่อมุมของข้อใดเบนออกจากท่าปกติประมาณ 15 องศา ข้อต่อด้านในจะถูกกด ขณะที่เอ็นและกล้ามเนื้อด้านตรงข้ามจะถูกยืดและลองนั่งหลังตรงและก้มคอลงประมาณครึ่งหนึ่งของการเคลื่อนไหวที่เป็นไปได้ (คางจรดอก) ค้างไว้สักระยะหนึ่งจะเริ่มมีอาการปวดเมื่อยโดยเฉพาะบริเวณด้านหลังของกระดูกต้นคอ การจัดสถานที่ทำงานจะป้องกันท่าทางที่ไม่เหมาะสมได้ เช่น การปรับความสูงของจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับพอดี ไม่ต่ำเกินไปจนต้องก้มคอ และการอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานเกินไปแต่การอยู่ในท่าทางใดท่าหนึ่ง แม้เป็นท่าทางที่ถูกต้อง แต่ต้องอยู่ในท่านั้นนาน ๆ จะเกิดการบาดเจ็บแก่เนื้อเยื่อ ของร่างกายได้เช่นกัน คนทำงานพึงหลีกเลี่ยงการอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานเกินไป เช่น ไม่ควรนั่ง หรือยืนนานเกิน 2 ชั่วโมง ควรเปลี่ยนอิริยาบถเมื่อทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ทุกครึ่งชั่วโมง ด้วยการเงย-ก้ม เอียงและหมุนคอซ้าย-ขวา
4.แรงกด แรงกดเกิดจากน้ำหนักของร่างกาย เครื่องมือ อุปกรณ์ในสถานที่ทำงาน แรงกดมีผลต่อเนื้อเยื่อ ได้แก่ ผิวหนัง กล้ามเนื้อ เอ็น เส้นเลือด และเส้นประสาท ทำให้บริเวณที่ถูกกดขาดเลือดไปเลี้ยงทำให้เนื้อเยื่อมีความเสียหายและบาดเจ็บได้ แรงกดจะขึ้นกับ 2 ปัจจัย คือน้ำหนักหรือแรงที่กดและพื้นที่แรงนั้นมากระทำ ตัวอย่างเช่น แรงกดที่เท้าจะขึ้นกับน้ำหนักตัวและพื้นที่ของฝ่าเท้า ถ้าน้ำหนักตัวมาก พื้นที่ฝ่าเท้าน้อย (เท้าเล็ก) แรงกดที่ฝ่าเท้าจะมาก แรงกดที่ฝ่ามือบริเวณฐานนิ้วโป้งจากการทำงานด้วยคีมที่มีด้ามจับตรงและแข็ง ทำให้เส้นประสาทบริเวณฝ่ามือถูกกดและมี อาการชาที่ฝ่ามือและปลายนิ้วได้
5.แรงสั่นสะเทือน เครื่องมือบางชนิดที่มีแรงสั่นสะเทือนสูง เช่น เครื่องขุดเจาะถนน มีแรงสั่นสะเทือนที่ความถี่ 120-200 รอบ/วินาที จะมีผลต่อหลอดเลือดเส้นประสาท ในมือ อาจทำให้ปลายนิ้วขาดเลือดมาเลี้ยงจนกระทั่งนิ้วตาย ความถี่ 20 รอบ/วินาทีจากเครื่องยนต์ มีผลทำ ให้กระดูกสันหลังเสื่อมได้ พบในคนขับรถบรรทุกและแทร็กเตอร์
6.อุณหภูมิที่ร้อนเกินไป การทำงานอยู่ในที่ร้อน เช่นกลางแจ้ง หรือในเหมือง มีผล 2 ประการต่อร่างกาย คือทำให้กล้ามเนื้อที่ใช้ในการทำงานเกิดความล้าได้ง่าย และทำให้มีอาการเป็นลม หมดสติ จากการที่อุณหภูมิของร่างกายสูงเกินไป
อย่าลืมว่าปัจจัยเสี่ยงทั้ง 7 ประการที่ทางเราได้คัดสรรมานี้ สามารถป้องกันได้ทั้งสิ้น การป้องกันไว้ก่อนย่อมดีกว่าการแก้ไข คนทำงานจะไม่บาดเจ็บจากการทำงาน มีคุณภาพชีวิตที่ดี และจะทำให้งานนั้นออกมาก็จะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอีกด้วย