การพัฒนาพนักงานในองค์กรนั้น ถือว่าเป็นบทบาทอย่างหนึ่ที่สำคัญของฝ่ายบุคคลที่ต้องพัฒนาขีดความสามารถของพนักงานในองค์กรทุกคน เพื่อความก้าวหน้าขององค์กร และสร้างผลงานการทำงานที่ดีที่สุดในหน้าที่ของตนเอง   ปัจจุบันหลายบริษัทได้มีการพัฒนาพนักงาน หรือทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ในองค์กร เพื่อพัฒนาและประเมินผลงานของพนักงานให้ได้ตรงตามความต้องการ อย่างไรก็ตาม อันดับแรกเลย บทความนี้จะนำเสนอและอธิบายถึง Competency ให้เข้าใจอย่างละเอียดถี่ถ้วนได้ ซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านไม่มากก็น้อย

อันดับแรก มาทำความรู้จักกับคำว่า Competency คืออะไร ตามที่ David C. McClelland ได้ให้คำนิยมว่า Competency คือ ทักษะ ความสามารถของปัจเจกบุคคล ที่สามารถผลักดันให้พนักงานนั้นสร้างผลงานที่ดี และตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ โดยเป็นงานที่ตนรับผิดชอบ สรุปคือ Competency หมายถึง ทักษะหรือความสามารถ คุณลักษณะเฉพาะบุคคล รวมถึงความรู้ที่มีผลต่อพฤติกรรมของพนักงานต่อความรับผิดชอบงานของตนได้ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม ทักษะหรือความสามารถนี้ (Competency) สามารถแบ่งได้ตามประเภทต่างๆ ได้แก่

  1. ทักษะความสามารถหลัก ทักษะประเภทนี้ จะเป็นทักษะที่กำหนดโดยองค์กร ถึงวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ตลอดจนกลยุทธ์ขององค์กร เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ทักษะ ความเชื่อ ทัศนคติ และบุคลิกภาพที่พนักงานทุกคนในองค์กรต้องมี เพื่อสนับสนุนให้บรรลุตามเป้าหมายขององค์กรได้ เช่น หากองค์กรกำหนดว่า จะต้องเป็นองค์กรที่เป็นเลิศในด้านการบริการงานขาย ความเป็นเลิศในการติดต่อกับลูกค้า เป็นต้น ฝ่ายทรัพยากรบุคคลจำเป็นต้องหาวิธีจัดทำความสามารถของพนักงานในองค์กร เพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์กรนั้นบรรลุความเป็นเลิศ ตามที่องค์กรได้ระบุไว้ข้างต้น
  2. ทักษะความสามารถด้านการบริหาร คือ ทักษะในการบริหารจัดการตามบทบาทและหน้าที่ที่ตนได้รับผิดชอบ ซึ่งพนักงานทุกคนในองค์จำเป็นต้องให้งานที่ตนรับผิดชอบนั้นสำเร็จและลุล่วงได้อย่างดี อีกอย่างคือต้องสอดคล้องกับพันธกิจขององค์กรที่ได้กำหนดไว้ด้วย เช่น การทำงานเป็นทีม การวางแผนการทำงาน การกำหนดเป้าหมาย การบริหารการเปลี่ยนแปลง การติดต่อสื่อสาร การแก้ปัญหาและตัดสินใจ ความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น
  3. ทักษะความสามารถตามตำแหน่งหน้าที่ คือ ความรู้และความสามารถของตำแหน่งหน้าที่นั้นๆ เป็นความสามารถเฉพาะบุคคลถึงความรู้ ความสามารถ ทักษะ พฤติกรรม ตามหน้าที่หรืองานที่ได้รับความผิดชอบมอบหมาย แม้ว่าในหน้าที่ที่รับผิดชอบนั้นมีหน้าที่เหมือนกัน และไม่จำเป็นต้องมีความสามารถเหมือนกัน เช่น ตำแหน่งงานพนักงานต้อนรับ ต้องมีความรู้ด้านการบริการ และตำแหน่งนักการบัญชี ต้องมีความรู้เกี่ยวกับบัญชี เป็นต้น
  4. ความสามารถที่มาจากปัจเจกบุคคล คือความสามารถที่เป็นลักษณะเฉพาะของตัวบุคคล เช่น ทัศนคติ แรงจูงใจ ที่ล้วนส่งผลต่อทัศนคติต่อที่ทำงานและประสิทธิภาพของการทำงานได้ดมากยิ่งขึ้น

เมื่อเราทราบแล้วว่างานในแต่ละส่วนนั้นมีอะไรบ้าง จำเป็นต้องใช้ทักษะและความสามารถอะไรบ้างในการปฏิบัติงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการทำงานมากยิ่งขึ้น การวางแผนจัดทักษะและความสามารถจะต้องชัดเจน ไม่คลุมเครือ และมีความเข้าใจตรงกันระหว่างผู้บังคับบัญชา และพนักงานในองค์กร เพื่อให้สามารถพัฒนาตนเองได้ และสอดคล้องไปกับการที่องค์กรได้กำหนดไว้ นอกจากนี้ การสร้างทักษะความสามารถนี้ หรือความมีส่วนร่วมของพนักงานให้เข้าใจเกี่ยวกับ Competency ว่าเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญที่พนักงานจำเป็นต้องมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาองค์กรและพัฒนาความสามารถของตนเองตามที่องค์กรได้กำหนดไว้

อยงไรก็ตาม ฝ่ายที่ฝึกอบรมพนักงานนั้น ต้องมีความเชี่ยวชาญในงานตรงตามความสามารถ และสามารถหาแนวทางในการพัฒนาองค์กรให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

ความคิดเห็นของคุณ

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่