หลายคนอาจจะสงสัยว่าสายงานวิทยาศาสตร์ วิจัยและพัฒนา ทำงานเกี่ยวกับอะไร มีข้อดีและข้อเสียอะไรบ้าง ตลอดจนคุณสมบัติต่างๆในการสมัครงานด้านสายนี้มีอะไรบ้าง วันนี้ Jobcute เลยนำเอาอาชีพสายนี้มาให้ทุกคนรู้จัก เพื่อเป็นไอเดียให้รู้จักกับงานด้านนี้และเตรียมความพร้อมในการพัฒนาตัวเองก่อนการเข้าสู่โลกแห่งการทำงานอย่างจริงจัง โดย Jobcute ขอแบ่งปันข้อมูลแบบสำรวจคนในสายงานนี้ ซึ่งเราได้คัดเลือกความคิดเห็นหลักๆเพื่อให้คุณได้เห็นภาพจริงในการทำงานมากยิ่งขึ้น

ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับงานวิทยาศาสตร์ วิจัยและพัฒนา
งานวิทยาศาสตร์ วิจัยและพัฒนามีขอบเขตในการทำงานอะไรบ้าง?
  • ใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ในการทดสอบงาน เพื่อดูค่าความสะอาดบนตัวงาน
  • บริการวิเคราะห์ตัวอย่างด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • จัดหาอุปกรณ์ เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์และสารในห้องแลป
  • การซ่อมบำรุงเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์เบื้องต้น
  • ควบคุมการผลิตให้ได้ตามมาตรฐานที่ได้วางไว้ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆเข้าสู่ท้องตลาด
  • วิเคราะห์ตัวอย่างสินค้า ออกแบบสูตรการผลิตและตรวจสอบวัตถุดิบ ประสานงานติดต่อลูกค้าเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์
  • ศึกษา ค้นคว้าและพัฒนากระบวนการด้านงานวิจัยและพัฒนา เพื่อเปลี่ยนแปลง ลดต้นทุนในการผลิต สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เป็นต้น ซึ่งเป็นงานที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เฉพาะด้าน นับว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายมาก
  • คิดสูตรและพัฒนาผลิตภัณฑ์ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องและควบคุมการผลิตให้ได้ตรงตามความสเปกโดยการควบคุมให้เป็นไปตามต้นทุนที่ได้กำหนดไว้
เสน่ห์ของสายอาชีพ

งานวิทยาศาสตร์ วิจัยและพัฒนา เป็นงานวิจัยที่ได้ค้นพบสิ่งใหม่ๆ สามารถนำไปต่อยอดในการผลิตสิ่งของหรือวัสดุที่มีประโยชน์ นอกจากนี้ยังเป็นงานที่ไม่จำเจต้องมีไอเดียใหม่ๆเสมอ รวมทั้งยังเป็นงานที่ให้ค่าตอบแทนสูงและมั่นคงอีกด้วย

ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับงานวิทยาศาสตร์ วิจัยและพัฒนา
ข้อดีของสายงานวิทยาศาสตร์ วิจัยและพัฒนา
  • ฝึกให้เป็นคนมีเหตุผล ช่างสังเกต
  • ได้ค้นพบกับความมหัศจรรย์ของวิทยาศาสตร์ที่จะทำให้ใช้ชีวิตง่ายขึ้น ทำให้เข้าใจปรากฏการณ์ต่างๆมากขึ้นและซาบซึ้งกับทุกสิ่งที่มีอยู่บนโลก
  • มีความอิสระทางความคิด มีความแปลกใหม่ในการทำงาน
  • ต่อยอดความคิดได้เรื่อยๆ ทำให้เกิดความก้าวหน้าในอาชีพการงาน
  • หางานทำง่าย
ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับงานวิทยาศาสตร์ วิจัยและพัฒนา
ข้อเสียของสายงานวิทยาศาสตร์ วิจัยและพัฒนา
  • มีความจำเจอยู่บ้าง บางครั้งจำเป็นต้องใช้ทักษะสูงก็อยากที่จะให้คนอื่นเข้าใจ
  • อาจจะต้องสัมผัสกับสารเคมีบางอย่างที่เลี่ยงไม่ได้
  • ความก้าวหน้าและผลตอบแทนอาจจะไม่สูงมากนัก อาจจะไม่เท่าสายวิศวกร
  • อาจจะไม่มีเวลาให้ครอบครัว เนื่องจากงานบางอย่างอาจจะต้องทำอย่างต่อเนื่อง
ความรู้ที่ต้องใช้ในงานวิทยาศาสตร์ วิจัยและพัฒนา
  • ความรู้ด้านสารเคมี สถิติ และเศรษฐศาสตร์
  • ต้องเป็นคนช่างสังเกต คิดวิเคราะห์ หามูลเหตุ ที่มาที่ไป
  • ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและกายภาพ
  • ความรู้พื้นฐานการใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ การคำนวณทางวิทยาศาสตร์ ความคิดที่รอบคอบและความรู้ที่จะใจเย็นในขณะที่ทำงานอย่างเร่งรีบ
  • ต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่กระบวนการผสมจนถึงกระบวนการผลิต
ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับงานวิทยาศาสตร์ วิจัยและพัฒนา
เปอร์เซ็นต์ทักษะความสามารถที่สายงานนี้ควรมี
  1. ความเชี่ยวชาญในสายงานวิทยาศาสตร์ วิจัยและพัฒนา  26.28%
  2. คิดอย่างมีหลักการ                                            20.12%
  3. หมั่นศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ                 19.04%
  4. ความกระตือรือร้น                                             17.79%
  5. ทักษะการตัดสินใจ                                            17.22%
  6. นำความรู้มาปรับใช้ได้ดี                                       14.42%
  7. ตรวจสอบความถูกต้องในทุกรายละเอียด                    14.09%
  8. เป็นนักวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา                            12.64%
  9. ความขยัน                                                       12.64%
  10. นักวิเคราะห์                                                   10.84%

เมื่อรู้ข้อมูลเชิงลึกของสายงานวิทยาศาสตร์ วิจัยและพัฒนาแล้ว ใครก็ตามที่กำลังมองหางาน “วิทยาศาสตร์ วิจัยและพัฒนา” ก็อย่ารอช้า เพราะต้องคุณต้องเตรียมความพร้อมไว้เนิ่นๆว่าจะรับมือความท้าทายนี้ได้อย่างไรให้ตนเองเป็นผู้เชี่ยวชาญในสายอาชีพนี้ อย่างไรก็ตาม Jobcute ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านค่ะ

 

ความคิดเห็นของคุณ

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่