การเลือกพนักงานที่ใช่ เพื่อเข้ามาทำงาน หรือมีส่วนร่วมในองค์กรนั้น นับว่าเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลยทีเดียว เนื่องจากว่าต้องพิจารณาหลายๆอย่าง เช่น การศึกษา อุปนิสัย นิสัยใจคอ และรวมศักยภาพ และผลงานอีกด้วย โดยทั่วไปแล้ว การรับพนักงานเข้ามาทำงานจำเป็นต้องพิจารณาทักษะและศักยภาพของแต่ละคนในการทำงาน อย่างไรก็ตาม วิธีการเลือกพนักงานเข้ามาในองค์กร ใช่ว่าจะประสบผลสำเร็จทุกๆครั้ง จากการสัมภาษณ์งาน ดังนั้น บทความนี้จะนำเสนอสิ่งสำคัญ 8 ประการ ที่องค์กรจะคัดเลือกเข้ามาเป็นพนักงาน ดังต่อไปนี้
- ความกระตือรือร้น และความคิดใหม่ๆที่สร้างสรรค์ (Active and Initiative)
ผู้สมัครงานควรมีความกระตือรือร้นในตัวเองสูง ให้ได้ผลงานตามที่องค์กรคาดหวัง หรือมากกว่านั้น โดยที่ผู้สมัครจะต้องเล่าประสบการณ์การทำงานมาก่อน และแสดงผลงานที่โดดเด่น ที่เกิดจากความสร้างสรรค์ของตนเอง และกรณีที่ผู้สมัครงานเพิ่งเรียนจบใหม่ๆ หรือไม่มีประสบการณ์ในการทำงานมาก่อน ทางบทความเสนอให้เล่า หรือแสดงผลงาน ประสบการณ์ หรือโครงการต่างๆ ที่ตนเองคิดริเริ่มในสมัยเรียน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้สามารถบ่งบอกถึงความกระตือรือร้น และความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ของผู้สมัครได้ดีเลยทีเดียว
- ผลงาน หรือ ผลปฏิบัติงานที่ผ่านมา
ผลงาน หรือ ผลปฏิบัติงานที่ผ่านมา ถือว่ามีความสำคัญอย่างมากในการสมัครงาน เนื่องจากจะเป็นการคาดการณ์ความสำเร็จในอนาคตได้ โดยให้ผู้สมัครงาน เล่าหรือเสนอ ผลงานหรือโครงการที่ตนเคยทำมา สัก 2-3 โครงการ หากโครงการนั้น เป็นโครงการที่น่าสนใจ โดดเด่น และมีความพยายามในการทำโครงการนั้นขึ้นมาจริงๆ ก็ให้คะแนน “5” แต่ถ้าหากโครงการที่ผู้สมัครนั้น ได้เสนอและไม่น่าสนใจพอ ประหนึ่งว่า เป็นโครงการที่คนอื่นๆก็สามารถทำได้ ก็จงให้คะแนนเพียง “1” หรือ “2” ก็พอ
อย่างก็ไรก็ตาม หากมีผู้สมัคร 2 คน มาสมัครงานตำแหน่งเดียวกัน โดยที่คนแรกมีประสบการณ์ด้านอสังหาริมทรัพย์เป็นระยะเวลา 10 ปี แต่ในหน้าที่การงานนั้น คนแรกได้เลื่อนตำแหน่ง เนื่องจากมีผลงานที่โดดเด่น และมีความคิดริเริ่มอยู่ตลอดเวลา และคนที่สองมีประสบการณ์ด้านอสังหาริมทรัพย์มา 10 ปีเหมือนกัน แต่ไม่มีผลงานเลย ไม่ได้เลื่อนตำแหน่ง หรือ ย่ำอยู่กับที่ กรณีต้องให้คะแนนคนแรก ไป 5 คะแนน และให้คะแนนคนที่สอง เพียง 1 คะแนนเท่านั้น ดังนั้น หากองค์จะเลือกบุคคลเข้ามาทำงาน ก็จะเลือกคนแรกเข้ามาทำงานร่วมกับองค์กร
- การศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน (Education and Experiences)
การศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน โดยเฉพาะประสบการณ์ในสายงานตรงตามที่ตนสมัครงาน เป็นปัจจัยสำคัญที่องค์กรนำมาพิจารณา เพราะบางตำแหน่งจะเน้นวุฒิการศึกษาเป็นหลัก โดยไม่เน้นประสบการณ์ แต่บางสายอาชีพก็เน้นไปที่ประสบการณ์ตรง อย่างไรก็ตาม งานที่เน้นและให้ความสำคัญกับวุฒิการศึกษา ได้แก่ ตำแหน่งงานที่เกี่ยวข้องกับงานสายวิชาการ และตำแหน่งงานที่ต้องใช้ประสบการณ์ตรง ได้แก่ แพทย์ นักบัญชี นักกฎหมาย อาจารย์ เป็นต้น ดังนั้น การให้คะแนนสำหรับผู้สมัครที่สมัครงานและมีประสบการณ์ตรง ก็ให้คะแนนที่ 5 และให้คะแนน 1 สำหรับผู้สมัครงานที่ไม่ตรงกับประสบการณ์
- การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า (A short-term solution to a problem)
ผู้สมัครงานจำเป็นต้องมีทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพราะอาจจะถูกวัดทักษะได้ โดยที่ผู้สัมภาษณ์อาจจะสมมติยกตัวอย่างมา 1 เรื่อง ให้คิดวิธีแก้ไขปัญหา ซึ่งเกณฑ์ในการประเมินโดยหลักๆมี 3 ข้อ ได้แก่ การวิเคราะห์ปัญหาอย่างเป็นระบบ ทักษะการแก้ปัญหา เพื่อให้ได้ผลลัพธ์จริง และทักษะทางเทคนิค หากผู้สมัครสามารถทำได้ทั้ง 3 ข้อนี้ ผู้ประเมินย่อมให้ 5 คะแนน
- วางแผนและการจัดการ (Plan and Manage)
ทักษะนี้ ผู้สัมภาษณ์จะดูเรื่องของความเป็นผู้นำเป็นหลัก ว่าผู้สมัครงานนั้นสามารถวางแผน และจัดการงานเป็นลำดับขั้นตอนไหม โดยเริ่มจากการให้เล่าประสบการณ์ในการวางแผน ตลอดจนการบริหารจัดการต่างๆในองค์กร
- การทำงานเป็นทีม และการสร้างแรงบันดาลใจ
ทักษะข้อนี้ เป็นการประเมินทักษะของผู้สมัครว่าสามารถเป็นผู้นำ และผู้ตามได้หรือไม่ ซึ่งทั้งสองบทบาทนี้มีความแตกต่างกัน โดยที่บทบาทผู้นำ ต้องให้ผู้ตามในทีมยอมรับ และผลักดันผลงานให้เกิความสำเร็จ ในทางตรงกันข้าม บทบาทผู้ตาม สามารถทำงานกับคนอื่นในทีมได้อย่างราบรื่นได้
- ความไว้วางใจ และน่าเชื่อถือ (Reliability)
โดยทั่วไปแล้ว ผู้สมัครจะต้องเล่าถึงงานที่ตนได้รับมอบหมายจากหัวหน้า ว่าได้รับความไว้วางใจ และน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด
- บุคลิกภาพต้องสอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์กร
บุคลิกภาพ นับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ที่ผู้สมัครจะได้รับการพิจารณาว่า สามารถเข้ากับองค์กรได้หรือไม่ หากรับมาแล้ว และไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรม หรือไลฟ์สไตล์การทำงาน จะทำให้เสียเวลา และค่าใช้จ่ายกับการสอนงาน เป็นต้น