หลายคนคงสงสัยว่า มัณฑนากรคืออะไร ออกแบบอะไรบ้าง แล้วแตกต่างกับสถาปนิกอย่างไร วันนี้ทางเว็บไซต์ Jobcute มีบทความดีๆมาให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ
อันดับแรกเลย มัณฑนากรคือ นักออกแบบตกแต่งภายในพื้นที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ตกแต่งภายในอาคารโดยการนำความรู้และความคิดด้านศิลปะ การออกแบบ การผลิตและการตลาดมาผสมผสานเข้ากันเพื่อทำการก่อสร้างให้เสร็จสมบูรณ์
ลักษณะงานของมัณฑนากร
ตามที่อาชีพของมัณฑนากร จะเป็นผู้ที่ทำการคิดและวางแผนการออกแบบตกแต่งภายในอาคาร สถานที่ทำงานหรือบ้านพักอาศัย ซึ่งมัณฑนากรจะต้องทำการดำเนินงานร่วมกับผู้ว่าจ้างอีกด้วย โดยจะมีขั้นตอนและลักษณะงาน ดังต่อไปนี้
1. ทำการจดรายละเอียดสำหรับการออกแบบและสร้างสรรค์ผลงานให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า เพื่อสร้างความประทับใจและทำให้เป็นที่สะดุดตามากที่สุด
2. ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างและคำนวณงบประมาณราคาที่ต้องใช้ในการออกแบบและตกแต่งภายในทั้งหมด โดยต้องคำนึงถึงคุณภาพที่เหมาะสมของวัสดุอีกด้วย เพื่อให้เกิดประโยชน์ใช้สอยและตรงตามเป้าหมายในการใช้ภายในอาคาร
3. เสนองบประมาณและแบบแผนที่วาดให้กับลูกค้า ทำการพิจารณาและดัดแปลงเพิ่มเติม เป็นต้น
4. หลังจากที่แบบได้รับการแก้ไขจนสมบูรณ์แล้ว จะส่งแบบต่อให้กับช่างเพื่อเป็นการดำเนินงานตามโครงสร้างที่ได้วางแผนไว้ เช่น ช่างเชื่อมเหล็ก หรือช่างไม้ เป็นต้น
5. ดำเนินงานและประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ตลอดจนถึงระบบที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างงานออกแบบตกแต่งภายใน
6. ให้คำแนะนำและพูดคุยปรึกษากับช่างเกี่ยวกับแบบแผนของงานออกแบบแผนของงานออกแบบ เพื่อจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานให้ออกมาตรงตามเงื่อนไขสัญญาที่ได้กำหนดไว้
การทำงานของมัณฑนากร
โดยปกติแล้ว การทำงานของมัณฑนากรจะออกแบบงานทั้งภายในรวมไปถึงภายนอกสำนักงาน ซึ่งในการดำเนินงานบางครั้งอาจจำเป็นต้องนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้อีกด้วย เพื่อเป็นตัวช่วยสำหรับงานออกแบบตกแต่งภายในอาคารและสถานที่ ให้มีความสะดวกและง่ายดายมากยิ่งขึ้น
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
- ต้องมีคุณคุณวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาการตกแต่งภายใน
- มีความคิดสร้างสรรค์ มีความเป็นเอกลักษณ์ และรอบคอบในการทำงาน
- มีความสามารถในการนำวัสดุต่างๆภายในประเทศมาประยุกต์ใช้กับงานออกแบบได้อย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด
- มีทักษะในการนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในงานออกแบบ
- มีระเบียบวินัยและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจ
- มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น สามารถทำงานเป็นทีม มียนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน
- มีวิสัยทัศน์ และความกระตือรือร้นในการพัฒนาความสามารถและความรู้ของตนเอง
- ต้องศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อวัสดุและวัตถุดิบต่างๆ
- สามารถออกแบบตกแต่งภายในได้อย่างถูกต้องตามหลักการและตรงตามความต้องการของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความปลอดภัยและงบประมาณราคาที่เหมาะสม
โอกาสในการก้าวหน้าในอาชีพการงาน
โอกาสความก้าวหน้าสำหรับอาชีพมัณฑนากรมีโอกาสก้าวหน้าทั้งในภาครัฐบาลและงานอิสระ ในส่วนของภาครัฐบาล ตำแหน่งจะถูกเลื่อนขั้นขึ้นตามฝีมือและความสามารถของมัณฑนากรในหน่วยงานที่สังกัดอยู่ จนสามารถเลื่อนได้ไปถึงขั้นตำแหน่งของผู้อำนวยการหากนักมัณฑนากรทำการพัฒนาผลงานได้ดียิ่งขึ้น แต่สำหรับอาชีพมัณฑนากรอิสระก็สามารถทำการประกอบธุรกิจส่วนตัว และขยายกิจการให้เติบโตได้มากขึ้นได้เรื่อยๆตามความสามารถของตนเอง
อาชีพมัณฑนากรแตกต่างกันอย่างไรกับอาชีพสถาปนิก
อาชีพสถาปนิก จะเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ในเรื่องของการออกแบบการก่อสร้างทั้งภายนอกและภายในตัวอาคาร ซึ่งการออกแบบต้องพิจารณาเป็นพิเศษโดยเฉพาะในเรื่องของสภาพแวดล้อมรวมทั้งรูปแบบของอาคารอีกด้วย ต้องให้มีความสอดคล้องกับทิศทางของแดด ลมฝน สภาพอากาศ และเน้นให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้งาน เช่น การออกแบบพื้นที่สัญจร พื้นที่โล่ง พื้นที่ใช้สอย หน้าต่างประตู หรือระยะยื่นของชายคา เป็นต้น นอกจากนี้ แม้ว่ามัณฑนากรจะไม่ได้ออกแบบเฟอร์นิเจอร์ด้วยก็ตาม แต่การวางเฟอร์นิเจอร์ให้ถูกหลักถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ควรเรียนรู้เกี่ยวกับการวางตำแหน่งของปลั๊กและสวิทช์ไฟต่างๆให้มีความสัมพันธ์กับเฟอร์นิเจอร์และการใช้งานของผู้อาศัยได้
อาชีพมัณฑนากร ตามที่ได้เกริ่นไว้ข้างต้นว่า มัณฑนากรจะมีหน้าที่ในการออกแบบตกแต่งภายในอาคารเท่านั้น ซึ่งลำดับหน้าจะได้รับงานต่อจากสถาปนิก โดยจะต้องทำการออกแบบและวางผังสำหรับการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ภายในห้อง รวมถึงการเลือกใช้สี การตกแต่งผนัง การเลือกใช้วัสดุปิดผนัง รวมถึงการตกแต่งห้องด้วยวัสดุต่างๆให้สวยงาม เช่น การเลือกใช้พรม โคมไฟ ผ้าม่าน ตู้ และเคาเตอร์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีอาจต้องทำการรื้อเพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบโครงสร้างภายในให้มีความเหมาะสมในการติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ เช่น การรื้อฝ้าเพื่อเพื่อสร้างรูปแบบเล่นระดับ หรือรื้อห้องน้ำในรูปแบบใหม่ เป็นต้น